RTN TRANSPORT 1

บริการให้เช่า รถฟอร์คลิฟท์ เอเฟรม รถเทรลเลอร์

Line id : @rtn1

Email : [email protected]

บริการให้เช่า รถเครน

บริการให้เช่า รถบรรทุกติดเครน

บริการให้เช่า รถเฮี๊ยบ

บริการให้เช่า แผ่นเหล็ก

บริการให้เช่ารถเครน

รถเครน หรือ รถปั้นจั่น ในภาษากฎหมายไทย เหมือน รถฟอร์คลิฟท์ ก็ คือ รถยก เช่นกัน รถเครนมีหลายประเภทถูกพัฒนามาจากหลายประเทศ ทั้งประเทศที่แพ้สงคราม หรือประเทศที่แรงงานหายาก เป็นยุคเริ่มแรก ต่อมาหลายประเทศจึงเริ่มผลิตกันต่อมา ประเทศไทยนั้นไม่ใช่ประเทศผู้ผลิตเครน โดยทั่วไปแล้ว ในเมืองไทย เรามีรถเครนหลักๆอยู่ไม่กี่ประเภท แต่ก่อนจะพูดถึงประเภทของรถเครน ต้องขออธิบายเรื่อง เครนในภาพรวมก่อน อ้างอิงจากมาตรฐานอเมริกา

เครนไม่เคลื่อนที่ (Immobile Cranes) เช่น Tower Crane, Gantry Crane, Overhead Crane, Ring crane(หาดูยากในเมืองไทย เพราะว่าเป็นเครนที่มี Capacity ที่สูงมาก)

อ่านเพิ่มเติม: บริการให้เช่ารถเครน

บริการใช้เช่ารถเฮี๊ยบ

รถเฮี๊ยบ(Hiab) คือรถบรรทุกที่ติดตั้งเครนสำหรับยกสิ่งของซึ่งมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการแตกต่างกันออกไปเช่น Boom Truck(USA) , Truck Loader Crane(Japan) , Vehicle Loading(Australia)

ประวัติรถเฮี๊ยบ
เฮี๊ยบ(Hiab) มาจากยี่ห้อของเครนยี่ห้อแรกๆที่นำเข้ามาใช้ในประเทศไทย และนิสัยของคนไทยจะชอบเรียกชื่อยี่ห้อแทนสิ่งนั้นเหมือนเราเรียกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปว่ามาม่านั่นเอง
Hiab คือชื่อประจำสินค้าของบริษัท Hydraliska Industri AB อยู่ที่เมืองเล็กๆแห่งหนึ่งในสวีเดน โดยนายเอริค ผู้ที่ก่อตั้งบริษัทสกี ตั้งแต่ปี 1944 ที่ประยุกต์การทำงานของระบบไฮโดรลิกเข้ามาใช้กับเครื่องของรถบรรทุก ในเวลาเดียวกันที่ประเทศฟินแลนด์ ก็มีพี่น้อง 3 คน ได้พัฒนาเครื่องมือเกี่ยวกับกลไกตัวนี้เช่นกัน 5 ปีหลังจากนั้น ประดิษฐกรรมนี้ได้เริ่มทำการผลิตในประเทศฟินแลนด์ ในเวลาต่อมาได้มีบริษัทเกี่ยวกับอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งจากฟินแลนด์ ปกติประกอบอุตสาหกรรมเกี่ยวกับงานด้านทรัพยากรธรรมชาติ เช่น หินปูน เป็นต้น ได้นำระบบนี้มาพัฒนาเพิ่มเติมในด้านวิศวกรรม เพื่อนำมาใช้ในงานก่อสร้าง และงานป่าไม้ จนแพร่หลายเข้าไปสู่วงการป่าไม้ วงการก่อสร้าง และอุตสาหกรรมทั่วโลก แม้แต่ประเทศรอบข้างของประเทศไทย ก็เรียกติดปากกันว่ารถเฮี๊ยบ เช่นกัน
ปัจจุบันรถเฮี๊ยบ ได้พัฒนาเป็นเครนที่สามารถพับเก็บได้ มีประสิทธิภาพในการยกน้ำหนักได้สูงเมื่อเทียบกับน้ำหนักของตัวเครน มีขนาดกระทัดรัด ใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อย ช่วยเพิ่มเนื้อที่ส่วนที่จะใช้บรรทุกได้มากขึ้น

อ่านเพิ่มเติม: บริการใช้เช่ารถเฮี๊ยบ

บริการให้เช่ารถโฟล์คลิฟท์

รถยก เป็นรถที่ใช้สำหรับยกและขนย้ายสิ่งของ ในปัจจุบันรถยกถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม และคลังสินค้า เป็นการช่วยลดเวลาการทำงาน ทุ่นแรงยกและการเคลื่อนย้าย ลดการบาดเจ็บจากการยกของหนัก และลดการจ้างมนุษย์ ลักษณะโดยทั่วไปของรถยกมี แท่งเหล็กยื่นออกมาจากโครงสร้างหลักของตัวรถเรียกว่า งา เพื่อใช้สำหรับวางและยกสิ่งของ เพื่อทำการเคลื่อนย้าย โดยอาศัยกลไกการทำงานในรูปแบบต่างๆ

          รถยก หรือ “โฟร์คลิฟท์” หรือ “ฟอร์คลิฟท์” มาจากคำภาษาอังกฤษว่า “FORKLIFT” ซึ่งเป็นการผสมคำสองคำ คือ “FORK” ที่แปลว่า “ช้อนส้อม” และ คำว่า “LIFT” ที่แปลว่า “การขึ้นลงในแนวตั้ง        รถยกแบ่งออกตามประเภทของต้นกำลังขับเคลื่อนได้ 2 ประเภท คือ 

อ่านเพิ่มเติม: บริการให้เช่ารถโฟล์คลิฟท์

บริการให้เช่ารถเทรลเลอร์

รถเทรลเลอร์ หรือ รถพ่วง หมายถึง รถที่ไม่มีเครื่องยนต์สำหรับใช้ขับเคลื่อนเองจึงไม่สามารถเคลื่อนที่ไปได้ด้วยตนเอง ต้องมีแรงภายนอกมา ลากจูง เช่น รถหัวลาก, แรงงานจากสัตว์เลี้ยง รวมทั้ง เครื่องจักรกลภายนอกอื่น ๆ รถพ่วงที่ใช้ประโยชน์กันอย่างกว้างขวางใน ปัจจุบัน ใช้รถหัวลากมาลากจูงใช้กับการขนส่งสินค้า และวัตถุสิ่งของต่างๆ รถพ่วงที่ใช้กันทั่ว ๆ ไปสามารถจำแนกเป็นลักษณะใหญ่ ๆ ได้ 2 ลักษณะ คือ

อ่านเพิ่มเติม: บริการให้เช่ารถเทรลเลอร์

วิธีตรวจสภาพโฟล์คลิฟท์ก่อนใช้งานและหลังใช้งานประจำวัน

การตรวจสอบตรวจสภาพโฟล์คลิฟท์ก่อนใช้งานประจำวันแบ่งออกเป็น 3 ลำดับคือ

  • วิธีตรวจสอบตรวจสภาพฯ ก่อนสตาร์ทเครื่องยนต์ (Pre-Check)
  • วิธีตรวจสอบตรวจสภาพฯ หลังสตาร์ทเครื่องยนต์ (Functional Check)
  • วิธีตรวจสอบตรวจสภาพฯ หลังจากจอด (Parking Check)

กรณีตรวจสอบตรวจสภาพก่อนใช้งานประจำวัน และพบความผิดปกติหรือความบกพร่องของโฟล์คลิฟท์, ให้แจ้งหัวหน้างานทันที การตัดสินใจในการหยุดหรือให้ใช้งานต่อด้วยเงื่อนไขใด ให้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้างาน

อ่านเพิ่มเติม: วิธีตรวจสภาพโฟล์คลิฟท์ก่อนใช้งานและหลังใช้งานประจำวัน

ความรู้ทั่วไปและหลักการยกของโฟล์คลิฟท์

โฟล์คลิฟท์หรือรถยกที่มีใช้งานในภาคอุตสาหกรรมมีหลายแบบ หลายยี่ห้อ การออกแบบที่หลากหลายและแตกต่างนั้น มีเจตนารมณ์หลักเพื่อตอบสนองการขนย้ายฯ ที่คล่องตัวและปลอดภัยมากที่สุดกับชิ้นงานหรือสินค้าที่รูปร่างแตกต่างกันนั่นเอง อย่างไรก็ตาม ผู้คนมักจะพูดกันสั้นๆ ว่าเพื่อความเหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งบางครั้งคำว่าเหมาะสมกลายเป็นคำพูดเพียงง่าย หากแต่ความหมายที่แท้จริงอาจเข้าใจอย่างคลุมเครือ แสงตะเกียง.ดอทคอมเพียงหวังว่าเมนูนี้จะช่วยไขความกระจ่างที่กล่าวถึงนี้ ซึ่งยังหมายรวมถึงเรื่องอื่นๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับโฟล์คลิฟท์ด้วย

  • โฟล์คลิฟท์ที่ใช้กันมาก มีสามแบบและที่ใช้กันมากที่สุดคือโฟล์คลิฟท์แบบน้ำหนักถ่วง (Lifting Principle)
  • โฟล์คลิฟท์แบบขนย้ายผลิตภัณฑ์หรือชิ้นงานทรงยาว (Side loader)
  • โฟล์คลิฟท์แบบน้ำหนักถ่วง (Counter weight forklift)
  • โฟล์คลิฟท์แบบเดินตาม (Walk behind forklift)
อ่านเพิ่มเติม: ความรู้ทั่วไปและหลักการยกของโฟล์คลิฟท์

ทำไมเรียกรถเฮี๊ยบ

รถเฮี๊ยบ(Hiab)หมายถึงรถบรรทุกที่ติดตั้งเครนสำหรับยกสิ่งของซึ่งมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการแตกต่างกันออกไป เช่น Boom Truck(USA) , Truck Loader Crane(Japan) , Vehicle Loading(Australia)

ประวัติรถเฮี๊ยบรับจ้าง

เฮี๊ยบ(Hiab)คือมาจากยี่ห้อของเครนยี่ห้อต้นๆที่นำเข้ามาใช้ในประเทศไทยเรา และส่วนใหญ่คนไทยจะเรียกชื่อยี่ห้อแทนสิ่งนั้นเหมือนเราเรียกผงซักผ้าว่าแฟบนั้นแหละHiab คือชื่อประจำสินค้าของบริษัท Hydraliska Industri ABอยู่ที่เมืองเล็กๆแห่งหนึ่งในสวีเดน โดยนายเอริค ผู้ที่ก่อตั้งบริษัทสกี ตั้งแต่ปี 1944ที่ประยุกต์การทำงานของระบบไฮโดรลิกเข้ามาใช้กับเครื่องของรถบรรทุกในเวลาเดียวกันที่ประเทศฟินแลนด์ ก็มีพี่น้อง 3 คน ได้พัฒนาเครื่องมือเกี่ยวกับกลไกตัวนี้เช่นกัน 5 ปีหลังจากนั้น ประดิษฐกรรมนี้ได้เริ่มทำการผลิตในประเทศฟินแลนด์ ในเวลาต่อมาได้มีบริษัทเกี่ยวกับอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งจากฟินแลนด์ ปกติประกอบอุตสาหกรรมเกี่ยวกับงานด้านทรัพยากรธรรมชาติ เช่น หินปูน เป็นต้น ได้นำระบบนี้มาพัฒนาเพิ่มเติมในด้านวิศวกรรมเพื่อนำมาใช้ในงานก่อสร้าง และงานป่าไม้ จนแพร่หลายเข้าไปสู่วงการป่าไม้ วงการก่อสร้างและอุตสาหกรรมทั่วโลก หากท่านต้องการใช้บริการรถเฮี๊ยบให้เช่าไปที่นี่กันเลย เรามีรถเฮี๊ยบไว้ให้บริการทุกจังหวัดแม้แต่ประเทศรอบข้างของประเทศไทย ก็เรียกติดปากกันว่า รถเฮี๊ยบ เช่นกันปัจจุบันรถเฮี๊ยบรับจ้าง ได้พัฒนาเป็นเครนที่สามารถพับเก็บได้ มีประสิทธิภาพในการยกน้ำหนักได้สูงเมื่อเทียบกับน้ำหนักของตัวเครนมีขนาดกระทัดรัด ใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อย ช่วยเพิ่มเนื้อที่ส่วนที่จะใช้บรรทุกได้มากขึ้น

อ่านเพิ่มเติม: ทำไมเรียกรถเฮี๊ยบ

อุบัติเหตุเกี่ยวกับรถเครน

อุบัติเหตุเกี่ยวกับการใช้รถเครนนั้นส่วนใหญ่เกิดจากการปฏิบัติไม่ถูกวิธี และก็มีอีกหลายสาเหตุที่มักจะทำให้เกิดอุบัติเหตุ และส่วนใหญ่ก็มักจะเกิดจากผู้ขับขี่ที่ขับด้วยความประมาท และก็ยังมีอีกสาเหตุหนึ่งคือการใช้รถเครนยกของผิดวิธี โดยรถเครนที่มีอุบัติเหตุเกิดบ่อยส่วนใหญ่จะเป็นรถเครนที่ถูกต่อจิ๊บเพื่อเพิ่มความสูงในการยกของขึ้นไปด้านบนโครงสร้างอาคาร เนื่องมาจากความสูงธรรมดาของเครนคันนี้ยกของขึ้นไปไม่ได้ รถเครนขนาดเล็กที่ใช้ยกของก็เช่นกันอาจจะต้องมีการติดอุปกรณ์ในการยกเพิ่มเติมเช่น งา ที่ใช้สำหรับยกสิ่งของเป็นต้น โดยทั่วไปเราจะทราบกันอยู่แล้วว่า เครนที่ยืดบูม หรือแขนเครนยาวขึ้น ความสามารถในการรับน้ำหนักจะลดลง และ เครนที่นอนบูมต่ำ (องศาของแขนเครนกับพื้นดินต่ำ) ความสามารถในการยกก็ยิ่งลดลง โดยการต่อจิ๊บบูมนั้นเป็นการเพิ่มความยาวของแขนเครนทำให้ความสามารถในการยกลดลงด้วยเช่นกัน หากผู้ขับขี่รถเครนนั้นไม่มีความชำนาญพอก็อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ รถเครนคว่ำ ทำให้อาจมีผู้ได้รับบาดเจ็บได้ครับ สำหรับการใช้งานรถเครนให้เกิดความปลอดภัยมากขึ้น ได้ดังนี้ครับ อันดับแรกสุดเลยนะครับคือ การตรวจสอบความเรียบร้อยโดยทั่วไปก่อนใช้งาน เช่น ลมยาง งา เป็นต้น ว่ามีสภาพพร้อมใช้งานได้อยู่หรือไม่ เพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่เองและคนรอบข้างครับ

อ่านเพิ่มเติม: อุบัติเหตุเกี่ยวกับรถเครน

ความรู้เรื่องเครน

เครนตามภาษากฏกระทรวงฯ รัฐบาลไทย เรียกว่าปั่นจั่น (Cranes or Derricks) หมายถึงเครื่องจักรกลที่ใช้ยกของขึ้นลงตามแนวดิ่งและเคลื่อนย้ายของเหล่านั้น ในลักษณะแขวนลอยไปตามแนวราบ

เครนแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ

  • เครนเหนือศีรษะและเครนขาสูง (Overhead-Gentry Cranes)
  • เครนหอสูง (Tower Cranes)
  • รถเครน เรือเครน (Mobile Cranes)
อ่านเพิ่มเติม: ความรู้เรื่องเครน

คู่มือความปลอดภัยการใช้รถโฟล์คลิฟท์

  • ขับรถยกต้องเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตและผ่านการอบรมอย่างถูกต้องเท่านั้น
  • ก่อนเริ่มงานควรตรวจสภาพของรถและในกรณีพบความเสียหายให้แจ้งหัวหน้างานทันที
  • คาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งขณะที่ขับรถ
  • ก่อนที่จะทำการสตาร์ทเครื่องต้องดึงเบรคมือ และปลดเกียร์ว่างเสียก่อน
  • ต้องปฎิบัติตามกฎจราจรในการขับขี่ แล้ใช้อัตราความเร็วที่ตรงงานนั้น ๆ กำหนดไว้
  • อย่าออกรถหรือหยุดรถทันทีทันใด
  • ต้องขับรถทิ้งระยะห่างจากคันหน้าในระยะที่ปลอดภัย
  • เวลาขับรถสวนกันต้องเผื่อระยะห่างระหว่างรถให้เพียงพอ
อ่านเพิ่มเติม: คู่มือความปลอดภัยการใช้รถโฟล์คลิฟท์