เครนตามภาษากฏกระทรวงฯ รัฐบาลไทย เรียกว่าปั่นจั่น (Cranes or Derricks) หมายถึงเครื่องจักรกลที่ใช้ยกของขึ้นลงตามแนวดิ่งและเคลื่อนย้ายของเหล่านั้น ในลักษณะแขวนลอยไปตามแนวราบ
เครนแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
- เครนเหนือศีรษะและเครนขาสูง (Overhead-Gentry Cranes)
- เครนหอสูง (Tower Cranes)
- รถเครน เรือเครน (Mobile Cranes)
เครนแบ่งย่อยออกเป็นหลายประเภท
- เครนรถตีนตะขาบ (Crawler Crane)-เป็นเครนรถ ล้อตีนตะขาบ บูมส่วนมากเป็นแบบบูมสาน เหมาะสมกับการใช้ในไซด์งานที่บุกเบิกใหม่ พื้นที่ยังไม่ถูกบดอัด ติดหล่มยากแต่ไม่แนะนำให้ใช้งานแบบวิ่งต่อเนื่องเป็นระยะทางคราวละหลายร้อยเมตร เพราะจะทำให้ชุดกลไกของล้อสึกเร็ว-เสียหายเร็วกว่าอายุใช้งานปกติ การเคลื่อนย้ายฯ จึงต้องแยกส่วนและขนถ่ายด้วยรถบรรทุกหนัก ใช้เครนเคลื่อนที่ล้อยางประกอบช่วยประกอบหน้าไซด์งาน
- เครนรถแบบทรัคเครน (Truck Crane)-เครนรถล้อยาง สามารถวิ่งได้เร็วคล้ายรถบรรทุก วิ่งเคลื่อนที่ไปไหนมาไหนได้ด้วยตนเอง ข้ามอำเภอ-ข้ามจังหวัดได้ เลี่ยวได้มุมแคบ, พื้นที่ใช้งานต้องถูกบดอัดแล้วเท่านั้น
- เครนรถแบบราฟเตอเรน (Rough Terrian Crane)-เครนล้อยาง ขับเคลื่อนทุกล้อ ทำงานในพื้นที่บุกเบิกใหม่ได้หากติดหล่มมีชุดกว้านช่วยเหลือตัวเองได้ แต่ไม่สมบุกสมบันเหมือนเครนล้อตีนตะขาบ, วิ่งข้ามอำเภอ ข้ามจังหวัดได้แต่ใช้ความเร็วได้ต่ำกว่าทรัคเครน
- เครนรถตีนตะขาบ (Crawler Crane) เครนรถแบบ Truck Crane และ Rough Terrian Crane เครนรถแบบออลเทอเรนเครน (All Terrian Crane)-เครนรถล้อยางขับเคลื่อนทุกล้อ สามารถวิ่งได้เร็วคล้ายรถบรรทุก ทำงานในพื้นที่ขรุขระหรือพื้นที่สมบุกสมบันได้ หากเทียบจะสมบุกสมบันได้น้อยกว่าเครนรถแบบตีนตะขาบ บูมเฟรมเป็นท่อนๆ เคลื่อนที่เข้าออกภานในบูมท่อนแรก มุมเลี้ยวแคบควบคุมให้เคลื่อนที่เข้าพื้นที่กีดขวางมุมหักศอก & องศาเลี้ยวน้อยๆ ได้ดี เครนติดรถบรรทุก (Truck Loader Crane)-เครนติดรถบรรทุก มีสภาพทั่วไปเป็นรถบรรทุกทั่วไป การออกแบบทั้งหมดเป็นรถบรรทุกใช้งานเพื่อบรรทุก เพียงแต่ติดตั้งเครนร่วมด้วย, สามารถยกของขึ้นลงได้ด้วยตนเอง คนไทยมักเรียกว่ารถเฮียบ-เพราะรถบรรทุกติดเครนที่นำเข้ามาใช้ในประเทศไทยในคราวแรกเป็นยี่ห้อเฮียบ
- รถบรรทุกติดเครน (Truck Loader Crane) เครนหอสูง (Tower Crane) เครนรางเลื่อนไฟฟ้าเหนือศรีษะ (Overhead Crane) เครนรางเลื่อนไฟฟ้าแบบขาสูง (Gantry Crane, Semi-Gantry Crane) เครนรางเลื่อนไฟฟ้าเหนือศรีษะแบบรางเดี่ยว (Mono-Rail Overhead Crane) เครนติดผนังหรือเครนแบบบูมสวิง (Jib Crane or Wall Crane) เครนหอสูง (Tower Crane)-ใช้ในงานก่อสร้าง ความสามารถสูงสุดและความสมดุลในการยกจะถูกออกแบบเป็นไปตามทฤษฏีของคาน ภาระงาน=แรง X ระยะทาง ฉะนั้นจะออกแบบให้มีนำหนังถ่วง (Counter Weight) ส่วนปลายตรงกันข้ามกับแขนบูมยก เครนรางเลื่อนไฟฟ้า (Electric Overhead Travelling Crane EOHT or Overhead Crane)-เป็นเป้าหมายหลักของงานนำเสนอฉบับนี้ ฉะนั้นรายละเอียดให้อ่านทำความเข้าใจในหัวข้อ เครนรางเลื่อนไฟฟ้า
- เครนหอสูงและเครนรางเลื่อนไฟฟ้า (Tower Crane, Electric Overhead Travelling Crane-EOHT) เครนรางเลื่อนไฟฟ้าแบบขาสูง (Gantry Crane or Simi-Gantry Crane)-ระบบการทำงานเหมือนกับเครนรางเลื่อนไฟฟ้า พื้นฐานการเคลื่อนที่ขนย้ายของได้หกทิศทาง ต่างกันที่เครนรางเลื่อนไฟฟ้าถูกติดตั้งรางวิ่ง (Crane Run Way) ไว้กับโครงสร้างสูงกว่าระดับพื้น แต่เครนเลื่อนไฟฟ้าแบบขาหยั่งจะมีรางอยู่ที่ระดับพื้นและยืนเฟรมขาขึ้นไปรองรับส่วนปลายสะพานเครน (Bridge Beam) หากมีขาคู่ เรียกว่า Gantry Crane กรณีมีขาข้างเดียวและอีกข้างหนึ่งมีรางเลื่อนอยู่กับโครงสร้างสูงจากระดับพื้น กึ่งเครนรางเลื่อนไฟฟ้า กึ่ง Gantry Crane เราเรียกว่า Simi-Gantry Crane
- เครนขาสูง (Gantry Crane) เครนรางเลื่อนไฟฟ้าแบบรางเดี่ยว (Monorail Crane)-การทำงานคล้ายกับเครนรางเลื่อนทั่วไป ส่วนที่ต่างออกไปคือมีรางวิ่งเพียงรางเดียว ด้วยการออกแบบลักษณะดังนี้ จึงทำงานได้แค่สี่ทิศทางคือ เดินหน้า-ถอยหลัง-ตามแนวดิ่งขึ้น-และตามแนวดิ่งลง อีกสองทิศทางคือความแนวขวางซ้ายและตามแนวขวางขวาขนย้ายของไม่ได้ ซึ่งซ้ายขวานี้เครนรางเลื่อนไฟฟ้าเหนือศีรษะจะขนย้ายได้
- เครนติดผนังหรือเครนแบบบูมสวิง (Jib Crane) เครนติดผนังหรือเครนแบบบูมสวิง (Jib Crane or Wall Crane)-ส่วนมากเป็นเครนขนาดเล็ก ความสามารถในการยกไม่เกิน 10 ตัน ที่พบเห็นส่วนมากจะถูกติดตั้งคันบูมไว้กับโครงสร้างหลักของอาคาร หรือยืนเสาคอลัมน์ขึ้นมาเพื่อติดตั้งคันบูม และคันบูมสวิงใช้งานได้ในรัศมีมุมกวาดครึ่งวงกลมหรือ 180 องศา
ขอบคุณข้อมูลจาก รณรงค์ แสงตะเกียง